22 สิงหาคม, 2553

การวางแผนคุมกำเนิด

การคุมกำเนิดเป็นการช่วยให้พ่อแม่ได้เตรียมความพร้อมกับระยะเวลาที่จะมีลูกให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและองค์ประกอบต่างๆ ภายในครอบครัวและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการช่วยเด็กที่จะเกิดมานั้นได้รับความรักความเอาใจใส่ และเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

การคุมกำเนิด แบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว

สำหรับฝ่ายหญิง

- ยาเม็ดคุมกำเนิด (เป็นการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่จะทำให้เป็นอันตรายแก่ผู้หญิงเหมือนกันถ้ากินอย่างต่อเนื่อง)

- ถุงยางอนามัยสตรี(ได้รับความนิยมน้อยที่สุด)

- ห่วงอนามัย (สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 3 - 8 ปี แล้วแต่ชนิดของห่วงอนามัย)

- ยาฉีดคุมกำเนิด (ฉีด 1 ครั้งสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3 เดือน)

- ยาเหน็บช่องคลอด

- แผ่นคุมกำเนิด

- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกินหลังการมีเพศสัมพันธ์ (จะต้องใช้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์)

- แคปซูลฝังคุมกำเนิด (ใช้โดยการสอดเข้าใต้ท้องแขนของผู้หญิงเป็นระยะเวลาสามถึงห้าปี ขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้)

- ยาฆ่าอสุจิ (ใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยสตรี ทั้งนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการคุมกำเนิดหากใช้เพียงอย่างเดียว)

- ยาคุมกำเนิดที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (จะต้องใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ยานี้ยังสามารถใช้กับหญิงให้นมบุตรได้)

- ยาคุมแบบโปรเจสโตเจนอย่าง เดียว (ควรใช้ยาตัวนี้ในเวลาเดียวกันของทุกวัน หากลืมใช้ยาจนเลยเวลาไปแล้วเกินกว่า 27 ชั่วโมง จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดเพิ่มเติมสำหรับช่วง 14 วันถัดไป ให้ใช้ยาตามปกติ)

วิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือไม่ได้

- ช่วงปลอดภัย

ตามทฤษฎี เราสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ หากไม่มีการร่วมเพศในช่วงที่ผู้หญิงกำลังตกไข่ แต่เป็นวิธีการที่เชื่อถือไม่ค่อยได้เนื่องจากระยะเวลาและรอบเดือนของช่วง การตกไข่ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป

- วิธีการหลั่งภายนอก

หากการร่วมเพศถูกขัดขวางก่อนการหลั่งเชื้ออสุจิ อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เชื้ออสุจิบางส่วนอาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องคลอดก่อนการหลั่งเกิดขึ้น ทำให้เชื้ออสุจิที่ผิวหนังรอบๆ ปากมดลูกเคลื่อนตัวเข้าไปในปากมดลูกได้

สำหรับฝ่ายชาย

- การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย เช่น โรคเอดส์

2. การคุมกำเนิดแบบถาวร

- การทำหมันหญิง ใช้การผูกหรือการตัดปีกมดลูก ไม่ให้ตัวอสุจิสามารถเดินทางผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้

- การทำหมันชาย ใช้วิธีตัดและผูกท่อนำน้ำเชื้ออสุจิทั้งสองข้างไว้

การทำหมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคุมกำเนิด ซึ่งจะไม่สามารถมีบุตรได้ หากทำหมันแล้ว และการแก้ไขในภายหลังก็จะทำได้ยากเช่นกัน ดังนั้นจึงควรคิดให้รอบคอบก่อนจึงค่อยตัดสินใจทำหมัน

ขอขอบคุณข้อมูล จาก

http://weddingmakmy.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น